วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

CISCO PACKET TRACER

ตัวอย่างหน้าตา แบบStar Topology

ICMP คือ โพรโทคอลที่ทำหน้าที่รายงานความผิดพลาดต่างๆ ใน IP packet และตรวจสอบการทำงานในชั้น Internet Layer


เนื่องจากปกติข้อมูลที่ส่งใน Network จะต้องผ่าน Router มากกว่าหนึ่งตัว เพื่อให้ Router สามารถตรวจสอบปัญหาในการส่งข้อมูลไปยังปลายทาง Router จะใช้ Internet Control Message Protocol (ICMP) ไปแจ้งยัง IP ต้นทาง โดย ICMP จะถูกใช้ในการวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหา


ข้อความใน ICMP จะประกอบด้วย
* Echo Request and Echo Reply
* Source Quench
* Destination Unreachable
* Time Exceeded
* Fragmentation Needed



การเข้าCommand ดู Ping เครือข่าย

      Ping คือโปรแกรม ที่เป็นเครื่องมือเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ใช้ทดสอบว่าโฮสต์ปลายทาง ได้เชื่อมต่อกับระบบไอพี อยู่หรือไม่ โปรแกรม Ping ทำงานโดยการส่งข้อมูล ICMP ประเภท "echo request" ไปยังโฮสต์เป้าหมาย และรอคอยการตอบรับเป็นข้อมูล "echo response" กลับมา (บางครั้งก็เรียกว่า "Ping Pong" คล้ายกับกีฬาเทเบิลเทนนิส) โปรแกรม Ping สามารถประมาณเวลาเดินทางโดยเฉลี่ยของข้อมูลไปกลับ โดยคำนวณจากช่วงเวลาและอัตราเร็วในการตอบรับ เป็นหน่วยมิลลิวินาที และอัตราการสูญเสียข้อมูลระหว่างโฮสต์เป็นเปอร์เซ็นต์    Ping statistics for 192.151.1.1 Minimum = 15ms , Maximum = 16ms,Average = 15 ms





การทำงานของคำสั่ง Tracert


      Tracert เป็นคำสั่งที่สามารถแสดงให้เห็นถึงเส้นทาง พร้อมข้อมูลรายละเอียดของอุปกรณ์ค้นหาเส้นทาง(router) ที่ packet ถูกส่งผ่าน จากต้นทาง(เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สั่งคำสั่งนี้) ไปยังปลายทางที่ถูกระบุไว้ คำสั่งนี้ใช้ใน command line ซึ่งติดตั้งมาให้แล้วในระบบปฏิบัติการ Windows (ถ้าเป็นระบบปฎิบัติการ Linux จะเทียบเท่ากับคำสั่ง traceroute)รูปแบบคำสั่งคือ “tracert ” เช่น “tracert www.etda.or.th” หรือ “tracert nrca.go.th” หรือ “tracert 200.0.0.1”คำสั่ง tracert ใช้โปรโตคอล ICMP ซึ่งทำงานอยู่ใน Layer3 ของ OSI model (The Open Systems Interconnection model) อีกทั้งยังใช้ประโยชน์จากค่า TTL(Time To Live) ซึ่งเป็นฟิวส์หนึ่งใน IP packet ที่เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ packet ในระบบเครือข่ายมีวันหมดอายุการทำงาน TTL เกิดขึ้นเมื่อ IP packet ส่งผ่านไปยัง router ใด ๆ ในเส้นทางเพื่อไปยังปลายทาง router นั้น ๆ จะลดค่า TTL ของ packet ลง 1 เมื่อค่า TTL ลดลงเหลือ 0 router ดังกล่าวจะ drop packet ทิ้ง ด้วยวิธีการนี้จึงทำให้ไม่มี packet ตกค้างในระบบ network Tracert อาศัยการทำงานของ ส่งไปถึง host ปลายทาง host จะตอบกลับมาด้วย ICMP echo reply packet เป็นการเสร็จสิ้นกระบวนการ tracert หนึ่งTTL โดยจะส่ง ICMP echo request packet ไปยัง host ที่ต้องการ ด้วยการเซตค่า TTL=1 ในครั้งแรก TTL=2 ในครั้งถัดมา จากนั้นเซต TTL=3 และจะเพิ่มค่า TTL ไปเรื่อย ๆ (ค่าสูงสุดของ TTL คือ 255) จนกระทั่งปลายทางเป็น IP ของ host ที่ต้องการ “TTL expired in transit” packet จะถูกส่งกลับมาจาก router ที่ทำการลดค่า TTL ลงเหลือ 0 ในที่สุดเมื่อ ICMP echo request packet ถูกครั้ง


ให้เข้าใจง่ายคือ....Tracert เป็น utility ที่ช่วยให้ค้นหาเส้นทางเดินจาก PC ของคุณไปยัง Address ที่ต้องการ


ซึ่งจะช่วยบอกปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการเข้าถึง host ที่ต้องการ เช่น กรณีเมื่อก่อนเคยเข้า
host นี้ได้เร็ว แต่ปัจจุบัน ช้า ก็จะใช้คำสั่งนี้เพื่อดูเส้นทางการเดิน ว่า เส้นทางเดินมีอะไรผิดปกติไหม
หรือว่าเดินหลงทาง

______________________________

วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

OSI Model


                             หน้าที่ของแต่ละ Layer ในการทำงาน




      Layer7, Application Layer เป็นชั้นที่อยู่บนสุดของขบวนการรับส่งข้อมูล ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้ โดยจะรับคำสั่งต่างๆจากผู้ใช้ส่งให้คอมพิวเตอร์แปลความหมาย และทำงานตามคำสั่งที่ได้รับในระดับโปรแกรมประยุกต์ เช่นแปลความหมายของการกดปุ่มเมาส์ให้เป็นคำสั่งในการก็อปปี้ไฟล์ หรือดึงข้อมูลมาแสดงผลบนหน้าจอเป็น Browser,HTTP,FTP,Telnet,WWW,SMTP,SNMP,NFS เป็นต้น

      Layer6, Presentation Layer เป็นชั้นที่ทำหน้าที่ตกลงกับคอมพิวเตอร์อีกด้านหนึ่งในชั้นเดียวกันว่า การรับส่งข้อมูลในระดับโปรแกรมประยุกต์จะมีขั้นตอนและข้อบังคับอย่างไร จุดประสงค์หลักของ Layer นี้คือ กำหนดรูปแบบของการสื่อสาร อย่างเช่น ASCII Text,EBCDIC,Binary และ JPEG รวมถึงการเข้ารหัส ( Encription) ก็รวมอยู่ใน Layer นี้ด้วย ตัวอย่างเช่น โปรแกรม FTP ต้องการรับส่งโอนย้ายไฟล์กับเครื่อง server ปลายทาง โปรโตคอล FTP จะอนุญาติให้ผู้ใช้ระบุรูปแบบของข้อมูลที่โอนย้ายกันได้ว่าเป็นแบบ ASCII text หรือแบบ binary JPEG,ASCII,Binary,EBCDICTIFF,GIF,MPEG,Encription เป็นต้น

       Layer5, Session Layer เป็น Layer ที่ควบคุมการสื่อสารจากต้นทางไปยังปลายทางแบบ End to End และคอยควบคุมช่องทางการสื่อสารในกรณีที่มีหลายๆ โปรเซสต้องการรับส่งข้อมูลพร้อมๆกันบนเครื่องเดียวกัน ( ทำงานคล้ายๆเป็นหน้าต่างคอยสลับเปิดให้ข้อมูลเข้าออกตามหมายเลขช่อง( port) ที่กำหนด) และยังให้อินเตอร์เฟซสำหรับ Application Layer ด้านบนในการควบคุมขั้นตอนการทำงานของ protocol ในระดับ transport/network เช่น socket ของ unix หรือ windows socket ใน windows ซึ่งได้ให้ Application Programming Interface (API) แก่ผู้พัฒนาซอฟแวร์ในระดับบนสำหรับการเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมการทำงานของ protocol TCP/IP ในระดับล่าง และทำหน้าที่ควบคุม "จังหวะ" ในการรับส่งข้อมูล ของทั้ง 2 ด้านให้มีความสอดคล้องกัน ( syncronization) และกำหนดวิธีที่ใช้รับส่งข้อมูล เช่นอาจจะเป็นในลักษณะสลับกันส่ง ( Half Duplex) หรือรับส่งไปพร้อมกันทั้ง 2 ด้าน (Full Duplex) ข้อมูลที่รับส่งกันใน Layer5 นี้จะอยู่ในรูปของ dialog หรือประโยคข้อมูลที่สนทนาโต้ตอบกันระหว่างต้านรับและด้านที่ส่งข้อมูล ไม่ได้มองเป็นคำสั่งอย่างใน Layer6 เช่นเมื่อผู้รับได้รับข้อมูลส่วนแรกจากผู้ส่ง ก็จะตอบกลับไปให้ผู้ส่งรู้ว่าได้รับข้อมูลส่วนแรกเรียบร้อยแล้ว และพร้อมที่จะรับข้อมูลส่วนต่อไป คล้ายกับเป็นการสนทนาตอบโต้กันระหว่างผู้รับกับผู้ส่งนั่นเอง ตัวอย่างของ protocol ในชั้นนี้คือ RPC,SQL,Netbios,Windows socket,NFS เป็นต้น


         Layer4,Transport Layer เป็น Layer ที่มีหน้าที่หลักในการแบ่งข้อมูลใน Layer บนให้พอเหมาะกับการจัดส่งไปใน Layer ล่าง ซึ่งการแบ่งข้อมูลนี้เรียกว่า Segmentation , ทำหน้าที่ประกอบรวมข้อมูลต่างๆที่ได้รับมาจาก Layer ล่าง และให้บริการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้นระหว่างการส่ง( error recovery) ทำหน้าที่ยืนยันว่าข้อมูลได้ถูกส่งไปถึงยังเครื่องปลายทางและได้รับข้อมูลถูกต้องเรียบร้อยแล้ว หน่วยของข้อมูลที่ถูกแบ่งแล้วนี้เรียกว่า Segment      ตัวอย่างของ protocol ในชั้นนี้คือ TCP,UDP,SPX


         Layer3,Network Layer เป็น Layer ที่มีหน้าที่หลักในการส่ง packet จากเครื่องต้นทางให้ไปถีงปลายทางด้วยความพยายามที่ดีที่สุด ( best effort delivery) layer นี้จะกำหนดให้มีการตั้ง logical address ขึ้นมาเพื่อใช้ระบุตัวตน ตัวอย่างของ protocol นี้เช่น IP และ logical address ที่ใช้คือหมายเลข ip นั่นเอง layer นี้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ซึ่งที่ทำงานอยู่บน Layer นี้คือ router นั่นเอง protocol ที่ทำงานใน layer นี้จะไม่ทราบว่า packet จริงๆแล้วไปถึงเครื่องปลายทางหรือไม่ หน้าที่ยืนยันว่าข้อมูลได้ไปถึงปลายทางจริงๆแล้วคือหน้าที่ของ Transport Layer นั่นเอง หน่วยของ layer นี้คือ packet      ตัวอย่างของ protocol ในชั้นนี้คือ IP,IPX,Appletalk


           Layer2, Data Link Layer รับผิดชอบในการส่งข้อมูลบน network แต่ละประเภทเช่น Ethernet,Token ring,FDDI, หรือบน WAN ต่างๆ ดูแลเรื่องการห่อหุ้มข้อมูลจาก layer บนเช่น packet ip ไว้ภายใน Frame และส่งจากต้นทางไปยังอุปกรณ์ตัวถัดไป layer นี้จะเข้าใจถึงกลไกและอัลกอริทึ่มรวมทั้ง format จอง frame ที่ต้องใช้ใน network ประเภทต่างๆเป็นอย่างดี ใน network แบบ Ethernet layer นี้จะมีการระบุหมายเลข address ของเครื่อง/อุปกรณ์ต้นทางกับเครื่อง/อุปกรณ์ปลาทางด้วย hardware address ที่เรียกว่า MAC Address MAC Address เป็น address ที่ฝังมากับอุปกรณ์นั้นเลยไม่สามารถเปลี่ยนเองได้ MAC Address เป็นตัวเลขขนาด 6 byte, 3 byte แรกจะได้รับการจัดสรรโดยองค์กรกลาง IEEE ให้กับผู้ผลิตแต่ละราย ส่วนตัวเลข 3 byte หลังทางผู้ผลิตจะเป็นผู้กำหนดเอง หน่วยของ layer นี้คือ Frame      ตัวอย่างของ protocol ในชั้นนี้คือ Ethernet,Token Ring,IEEE 802.3/202.2,Frame Relay,FDDI,HDLC,ATM เป็นต้น


            Layer1, Physical Layer Layer นี้เป็นการกล่าวถึงข้อกำหนดมาตรฐานคุณสมบัติทางกายภาพของฮาร์ดแวร์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้ง 2 ระบบ   สัญญาณทางไฟฟ้าและการเชื่อมต่อต่างๆของสายเคเบิล ,Connector ต่างๆ เช่นสายที่ใช้รับส่งข้อมูลเป็นแบบไหน ข้อต่อหรือปลั๊กที่ใช้มีมาตรฐานอย่างไร ใช้ไฟกี่โวลต์ ความเร็วในการรับส่งเป็นเท่าไร สัญญาณที่ใช้รับส่งข้อมูลมีมาตรฐานอย่างไร Layer1 นี้จะมองเห็นข้อมูลเป็นการรับ-ส่งที่ละ bit เรียงต่อกันไปโดยไม่มีการพิจารณาเรื่องความหมายของข้อมูลเลย การรับส่งจะเป็นในรูป 0 หรือ 1 หากการรับส่งข้อมูลมีปัญหาเนื่องจากฮาร์ดแวร์ เช่นสายขาดก็จะเป็นหน้าที่ของ Layer1 นี้ที่จะตรวจสอบและแจ้งข้อผิดพลาดนั้นให้ชั้นอื่นๆที่อยู่เหนือขึ้นไปทราบ หน่วยของ layer นี้คือ bits      ตัวอย่างของ protocol ในชั้นนี้คือ CAT5,CAT6,RJ-45,EIA/TIA-232,V.35cable เป็นต้น



อุปกรณ์เครือข่าย-OSI Model


Picture


      สวิตซ์ (Switch) เป็นที่นิยมใช้ในระบบเครือข่ายแลนแบบ Ethernet เพื่อใช้เชื่อมต่อเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่าย (segment) เข้าด้วยกัน สวิตซ์จะช่วยละการจราจรระหว่างเครือข่ายที่ไม่จำเป็น ทำให้สามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลในแต่ละเครือข่าย ได้อย่างรวดเร็ว จะอยู่ในระดับ Network Layer(Layer 3)


Picture
     เราท์เตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับที่อยู่สูง นั่นคือในระดับ Network Layer (Layer 3) ใน OSI Model ทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลเครือข่ายต่างกัน นอกจากนี้ เราท์เตอร์ยังสามารถหาเส้นทางการส่งข้อมูลที่เหมาะสมให้โดยอัตโนมัติด้วย


Picture
   ฮับ (Hub) สามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า LAN Concentrator แต่จะมีราคาถูกกว่า นิยมใช้ในเครือข่าย LAN รุ่นใหม่ ๆ โดยใช้อับในการเชื่อมสายสัญญาณจากหลาย ๆ จุดเข้าเป็นจุดเดียว จะจัดอยู่ในระดับ Physical layer   (layer1)

Bus Topology



โทโปโลยีแบบบัส บางทีก็เรียกว่า Linear bus เพราะมีการเชื่อมต่อแบบเส้นตรงซึ่งเป็นลักษณะการเชื่อมต่อที่ง่ายที่สุด และเป็นโทโปโลยีที่นิยมกันมากที่สุดในสมัยแรกๆ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับสายสัญญาณร่วม หรือ บัส จะสื่อสารกันโดยใช้ที่อยู่ (Address) ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีที่อยู่ที่ไม่ซ้ำกัน ในการส่งสัญญาณในสายที่แชร์กันนี้จำเป็นที่ต้องเข้าใจหลักการต่อไปนี้
- การส่งข้อมูล
- การสะท้อนกลับของสัญญาณ
- ตัวสิ้นสุดสัญญาณ

ลักษณะการส่งข้อมูล
การส่งข้อมูลบนเครือข่ายที่มีโทโปโลยีแบบบัสนั้น ข้อมูลจะถูกส่งไปบนสายสัญญาณในรูปแบบของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสัญญาณนี้จะเดินทางไปถึงคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับสื่อกลางบัส แต่เฉพาะคอมพิวเตอร์เครื่องที่มีอยู่ตรงกับที่อยู่ของผู้รับที่อยู่ในข้อมูลเท่านั้น จึงจะนำข้อมูลนั้นไปทำการโพรเซสส์ต่อไป ส่วนเครื่องอื่นๆ ก็จะไม่สนใจข้อมูลนั้น เนื่องจากสายสัญญาณเป็นสื่อกลางที่ใช้ร่วมกัน ดังนั้นคอมพิวเตอร์แค่เครื่องเดียวเท่านั้นที่จะส่งข้อมูลได้ในเวลาใดเวลาหนึ่งเนื่องจากมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในเวลาใดเวลาหนึ่ง ดังนั้น จำนวนคอมพิวเตอร์ที่พ่วงต่อเข้ากับสื่อกลางจะมีผลต่อประสิทธิภาพของเครือข่าย เพราะยิ่งจำนวนคอมพิวเตอร์มีมากเท่าไร ยิ่งทำให้คอมพิวเตอร์ต้องรอนานเพื่อที่จะส่งข้อมูล ซึ่งอาจมีผลทำให้เครือข่ายช้ามากขึ้นยังไม่มีวิธีการที่เป็นมาตรฐานในการวัดว่าจำนวนคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของเครือข่ายอย่างไร ปัจจัยที่ทำให้ประสิทธิภาพของเครือข่ายลดลงนั้นไม่ใช่เฉพาะจำนวนคอมพิวเตอร์อย่างเดียว สิ่งต่อไปนี้เป็นปัจจัยอื่นที่อาจมีผลต่อประสิทธิภาพของเครือข่ายได้
= ประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย
= จำนวนของโปรแกรมที่กำลังรันบนเครื่องคอมพิวเตอร์
= ชนิดของแอพพลิเคชันที่ใช้เครือข่าย เช่น แอพพลิเคชันแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ โปรแกรมถ่ายโดนไฟล์ผ่านเครือข่าย เป็นต้น
= ระยะห่างระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย

ในขณะใดขณะหนึ่ง คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย จะเช็คดูว่ามีข้อมูลส่งมาถึงตัวเองหรือไม่ หรือไม่ก็กำลังส่งข้อมูล เนื่องจากคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องไม่มีหน้าที่ในการส่งข้อมูล ดังนั้นเมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งหยุดทำงานก็จะไม่ทำให้เครือข่ายล่มได้ 

การสะท้อนกลับของสัญญาณและเทอร์มิเนเตอร์  
เนื่องจากข้อมูลที่ส่งไปในเครือข่ายอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สัญญาณนี้จะต้องเดินทางจากปลายข้างหนึ่งไปยังปลายอีกข้างหนึ่งของสายสัญญาณ ถ้าไม่มีการจำกัดสัญญาณนี้มันก็จะสะท้อนกลับมาบนสายสัญญาณ ซึ่งอาจทำให้เครื่องอื่นๆ ไม่สามารถส่งข้อมูลได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการหยุดการสะท้อนกลับไปกลับมา ของสายสัญญาณนี้ หลังจากที่ข้อมูลได้ส่งถึงที่หมายเรียบร้อย ตัวเทอร์มิเนเตอร์ (Terminater) จะทำหน้าที่ดูดกลืนสัญญาณเพื่อไม่ให้สะท้อนกลับ และจะถูกติดไว้ที่ปลายสัญญาณ การดูดกลืนสัญญาณนี้จะทำให้สัญญาณว่าง และพร้อมสำหรับการส่งข้อมูลอีกที่ปลายทั้งสองข้างของสายสัญญาณจะต้องเสียบเข้ากับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เน็ตเวิร์คการ์ด หรือตัวเชื่อมต่อ ที่ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณให้มีระยะยาวขึ้น ปลายที่ไม่ได้เสียบเข้ากับอุปกรณ์จะต้องติดตัวเทอร์มิเนเตอร์เพื่อป้องกันการสะท้อนกลับของสัญญาณ

การรบกวนการสื่อสารข้อมูลของเครือข่าย
เมื่อเกิดสายสัญญาณขาด ณ จุดใดจุดหนึ่ง หรือมีการถอดปลายสายออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะทำให้สายสัญญาณ ณ จุดนั้นไม่มีตัวเทอร์มิเนเตอร์ อันเป็นเหตุให้สัญญาณสะท้อนกลับ ซึ่งจะไปรบกวนสัญญาณเดิม และทำให้ข้อมูลนั้นเสียไป สัญญาณนี้ก็จะสะท้อนกลับไปกลับมาซึ่งทำให้ไม่สามารถส่งข้อมูลใหม่ได้ นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เครือข่ายประเภทนี้ล่ม 
ความสามารถในการขยายเครือข่าย
เมื่อต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ใหม่เข้ากับเครือข่าย จำเป็นต้องใช้สายสัญญาณที่ยาวขึ้น สายสัญญาณที่ใช้ในโทโปโลยีแบบบัสนี้สามารถต่อให้ยาวขึ้นโดย 2 วิธี ดังนี้
= ใช้หัวเชื่อมต่อซึ่งเรียกว่า “barrel connector “เชื่อมต่อสายสัญญาณสองเส้นซึ่งจะทำให้สายสัญญาณยาวขึ้น อย่างไรก็ตามการใช้หัวเชื่อมต่อนี้จะลดกำลังของสัญญาณ ฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้หัวเชื่อมต่อให้มากที่สุด การใช้สายสัญญาณที่ยาวเส้นเดียวจะดีกว่าการใช้สายสัญญาณหลายๆ เส้นเชื่อมต่อกันให้ยาวขึ้น การใช้หัวเชื่อมต่อหลายที่อาจจะทำให้สัญญาณลดทอนลงไป ซึ่งอาจมีผลทำให้ได้รับข้อมูลไม่ถูกต้อง
= ใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณ หรือ repeater อุปกรณ์ตัวนี้จะใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณให้ยาวขึ้น และในขณะเดียวกันก็เพิ่มกำลังให้กับสัญญาณด้วย  
โครงสร้างเครือข่ายแบบบัส (Bus Network)
คือลักษณะการเชื่อมต่อแบบอนุกรม โดยใช้สายเคเบิลเส้นยาวต่อเนื่องกันไปดังรูปที่ได้แสดงไว้ โครงสร้างแบบนี้มีจุดอ่อนคือเมื่อคอมพิวเตอร์ตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหากับสายเคเบิล ก็จะทำให้เครือข่ายรวนไปทั้งระบบ นอกจากนี้เมื่อมีการเพิ่มคอมพิวเตอร์เข้าไปในเครือข่าย อาจต้องหยุดการใช้งานของระบบเครือข่ายก่อน เพื่อตัดต่อสายเข้าเครื่องใหม่ ส่วนข้อดีคือโครงสร้างแบบบัสนี้ไม่ต้องมีอุปกรณ์อย่าง Hub หรือ Switch ใช้เพียงเส้นเดียวก็สามารถเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องไม่มาก ปัจจุบันไม่ค่อยใช้กันแล้ว เนื่องจากไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มเติม ทำให้ความเร็วถูกจำกัดอยู่ที่ 10 Mbps และถูกทดแทนโดยการเชื่อมต่อแบบสตาร์
การทำงานของบัส 
การทำงานหลัก ๆ ของบัสประกอบด้วยสองขั้นตอนคือการส่งแอดเดรสและการรับหรือส่งข้อมูล นิยามจากการทำงานที่กระทำกับหน่วยความจำ คือ ขั้นตอนการอ่านจะทำการส่งข้อมูลจากหน่วยความจำไปยังหน่วยประมวลผลและอุปกรณ์ I/O อื่นๆ และขั้นตอนการเขียน จะทำการเขียนข้อมูลลงบนหน่วยความจำ เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนเราจะเรียกว่า output และ input ตามลำดับ ซึ่งเป็นการอ้างอิงจากการทำงานของหน่วยประมวลผล กล่าวคือ input จะหมายถึงกระบวนการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ I/O ต่างๆ ไปยังหน่วยความจำที่ซึ่งหน่วยประมวลผลสามารถอ่านได้ และ output จะหมายถึงกระบวนการส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ต่างๆ จากหน่วยความจำที่ซึ่งหน่วยประมวลผลสามารถเขียนได้


ข้อดี
1. ใช้สายส่งข้อมูลน้อยและมีรูปแบบที่ง่ายในการติดตั้ง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษา
2. สามารถเพิ่มอุปกรณ์ชิ้นใหม่เข้าไปในเครือข่ายได้ง่าย
3. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก
ข้อเสีย
1. ในกรณีที่เกิดการเสียหายของสายส่งข้อมูลหลัก จะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้
2. การตรวจสอบข้อผิดพลาดทำได้ยาก ต้องทำจากหลาย ๆจุด
3. อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
4. การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้
ข้อคิดเห็น

                ถ้าเป็นเจ้าของกิจการจะเลือกการเชื่อมต่อแบบบัส  เพราะ  การเชื่อมต่อแบบบัสเป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ใช้สายสัญญาณน้อย และเชื่อมต่อได้ง่าย ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ทั้งสายสัญญาณ การติดตั้งและการบำรุงรักษา สามารถเพิ่มโหนดได้ง่าย เพราะมีโครงสร้างแบบง่าย มีความเชื่อถือได้ เพราะใช้สายสัญญาณหลักเพียงเส้นเดียว 

กลุ่ม 3 รายชื่อสมาชิก

รายชื่อกลุ่ม 3
นายปริญญา  เหล็กมั่น 55046680103
นายกัณฑ์ธร  บุญพุ่ม  55046680110
นายณัชพล  จันทร์คง 55046680116
นายวัชรินทร์  กันตา  55046680123
นายธีรยุทธ  แก้ววงค์หิว  55046680155
นายวิทวัส  ค้ำชู  55046680161